วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557

แบบทดสอบนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

เรียบเรียงโดยนายอิทธิเดช  ไทรชมภู, 19 เมษายน 2557
กระดานอัจฉริยะ (Interactive Board)


1. อธิบายความหมาย คุณลักษณะ  ประโยชน์ ข้อดี ข้อจำกัด

อธิบายความหมาย

          กระดานอัจธริยะ หรือ Interactive Board หรือ Active Board หรือ Smart Board หรือเรียกตามชื่อแบรนด์แตกต่างกันไปซึ่งจริงๆ แล้วก็คืออันเดียวกันครับ กระดานอัจริยะเป็นกระดานระบบสัมผัสที่มีหน้าจอขนาดใหญ่ ซึ่งทำหน้าที่เป็นจอโปรเจคเตอร์คอมพิวเตอร์ (Computer projector Screen) ซึ่งสามารถควบคุมโดยการสัมผัสหรือเขียนบนหน้าจอแทนการใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ดโดยอุปกรณ์ที่จำเป็นที่จะต้องใช้กระดานอัฉริยะ จะประกอบไปด้วย คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เป็นส่วนประมวลผล และโปรเจคเตอร์ทำหน้าที่ฉายภาพของหน้าจอคอมพิวเตอร์ลงบนผิวกระดานอัจฉริยะ

คุณลักษณะ

          ใช้เทคโนโลยีจากคลื่นอินฟาเรทในการรับจุดตัดโดยจะมีตัวส่งคลื่นอินฟาเรท และตัวรับคลื่นอินฟาเรท ทั้ง 4 ด้าน ของกระดานอัจฉริยะ (Interactive Board) ส่งสัญญาณในแนวตั้งและแนวนอน ตัดกันเป็นจุด เมื่อมีวัตถุเข้าไปสัมผัสผ่านคลื่นอินฟาเรท ก็จะทำให้เกิดจุดอับสัญญาณขึ้นทำให้คอมพิวเตอร์รู้ว่าจุดที่คุณสัมผัสคือจุดไหน
               - มีความเที่ยงตรงและความแม่นยำสูง
               - มีการตอบสนองรวดเร็ว
               - ไม่จำเป็นต้องใช้ปากกาเฉพาะในการสัมผัสหรือเขียนเพราะสามารถที่จะใช้นิ้วหรือสิ่งต่างๆในการสัมผัสหรือเขียนบนกระดานได้
               - ตัวกระดานสามารถรับแรงกระแทกได้ในระดับดี หรือกระดานทะลุก็สามารถเขียนหรือใช้งานต่อได้
               - ดูแลรักษาง่าย
               - ไม่จำเป็นต้องต่อสายไฟโดยตรงกับตัวกระดาน เพราะตัวกระดานจะใช้เพียงแค่สาย USB ในการเชี่อมต่อ
          กระดานอัจฉริยะนั้นเปรียบเสมือนจอรับภาพขนาดใหญ่ซึ่งสามารถที่จะสัมผัสได้ โดยตรงที่ตัวกระดานอัจฉริยะได้เลยนั้น การทำงานจะคล้ายๆกับโทรศัพท์ระบบสัมผัสในปัจจุบันนี้ต้องยอมรับว่ากระดานอัจฉริยะนั้นได้มีการนำเข้ามาใช้งานกันอย่างแพร่หลายแล้ว ซึ่งก็จะมีหลายยี่ห้อหลายเทคโนโลยี การทำงานของกระดานอัจฉริยะ ประกอบไปด้วย 3 สิ่ง คือ 1. กระดานอัจฉริยะ 2. โปรเจคเตอร์ 3. คอมพิวเตอร์

ประโยชน์


          1. สามารถใช้แทนกระดานไวท์บอร์ดในแบบเดิมๆได้ สามารถช่วยครูผู้สอนสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างสะดวกสบายในการสอนหน้าชั้นเรียน
          2. สะดวกสำหรับครูผู้สอนในการปรับปรุงเนื้อหาการนำเสนอโดยการรวมข้อมูลหลากหลายชนิดเข้าไปในบทเรียนได้อย่างง่ายดายไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต กราฟ รูปภาพ วิดีโอ และข้อมูลจากไฟล์เวิร์ดทำให้การนำสื่อหลากหลายรูปแบบมาใช้ในการเรียนการสอน
          3. ผู้เรียนสามารถทำงานร่วมกันและแสดงความคิดเห็นผ่านกระดานอัจฉริยะได้
          4. ทำให้การเรียนการสอนเป็นเรื่องสนุก
          5. หมดปัญหาเรื่องผงชอล์กหรือแพ้กลิ่นปากกาเคมี
          6. ใช้ร่วมกับโปรแกรมต่างๆ ของระบบวินโดว์ได้ดี
          7. ใช้ระบบสัมผัสร่วมกับเกมส์แฟลชสำหรับการศึกษาได้ดีหรือใช้นำเสนอผลงานได้อย่างเป็นมืออาชีพ

ข้อดี

          1. เนื่องจากกระดานอัจฉริยะ สามารถใช้แทนกระดานไวท์บอร์ดในแบบเดิมๆได้ แต่มันสามารถช่วยครูผู้สอน สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างสะดวกสบายในการสอนหน้าชั้นเรียน
          2. สะดวกสำหรับครูผู้สอนในการปรับปรุงเนื้อหาการนำเสนอ โดยการรวมข้อมูลหลากหลายชนิดเข้าไปในบทเรียนได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต กราฟ รูปภาพ วิดีโอ และข้อมูลจากไฟล์เวิร์ด ทำให้การนำสื่อหลากหลายรูปแบบมาใช้ในการเรียนการสอน

ข้อจำกัด

          1. เมื่อผู้นำเสนออยู่ทางด้านหน้าของกระดานจะเกิดเงาบนหน้าจอแสดงภาพ
          2. การฉายภาพจากทางด้านหลังจะมีราคาแพงกว่าเทคโนโลยีการฉายภาพจากทางด้านหน้า
          3. มีราคาสูงและใช้งานยากหากผู้ใช้ไม่เคยผ่านการใช้งานหรือเรียนรู้วิธีการใช้งานมาก่อน

2. แทรกตัวอย่างรูปภาพ หรือ วิดีโอ

     เทคโนโลยีกระดานอัจฉริยะแบบ ทีชเซ้นซิทีป (Touch Sensitive Interactive Board) คือ เทคโนโลยีกระดานอัจฉริยะแบบ Touch Sensitive ถูกสร้างขึ้นด้วยผิวหน้าที่มีความแข็งแรงทนทานประกอบกับแผ่นบอร์ด ที่มีความแข็งซึ่งทั้งสองถูกประกบติดกับด้วยวัสดุที่มีความทนทาน โดนปกติผิวหน้าจอกระดานอัจฉริยะแบบ Touch Sensitive แต่ละชั้นถูกแยกชั้นโดยช่องว่างอากาศเบาๆ (Air gap) เมื่อมีการสัมผัสที่ผิวหน้า จะทำให้ช่องว่างอากาศถูกกดลงและปิด ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลของตำแหน่งที่สัมผัสออกไป เป็นสัญญาณที่ถูกแปลงไปเป็นข้อมูลและถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์สำหรับกระบวนการประมวลผลต่อไป เทคโนโลยีนี้สามารถรับข้อมูลผ่านการใช้นิ้ว ปากกาหรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ไม่แหลมคม มีความแม่นยำและเสถียรภาพสูง







     



ข้อดีของกระดานอัจฉริยะแบบเทคโนโลยีทัชเซ็นซิทีฟ (Touch Sensitive Interactive Board)
          - มีความเที่ยงตรงและแม่นยำสูง
          - มีการตอบสนองที่รวดเร็ว
          - ดูแลรักษาง่าย
          - ไม่จำเป็นต้องใช้ปากกาเฉพาะ ในการสัมผัสหรือเขียนเพราะสามารถที่จะใช้นิ้วมือหรือสิ่งต่างๆ ในการสัมผัสหรือเขียนที่กระดานได้
          - ตัวกระดานสามารถรับแรงกระแทกได้ในระดับดี หรือ ผิวกระดานมีลอยฉีกขาดหรือลอยถลอกก็สามารถเขียนหรือใช้งานต่อได้
          - ไม่จำเป็นต้องต่อสายไฟโดยตรงกับตัวกระดาน เพราะตัวกระดานจะใช้เพียงแค่สาย USB ในการเชี่อมต่อ
          - เขียนด้วยปากกาก็สะดวก เนื่องจากเวลาเขียนไม่จำเป็นต้องยกมือไม่ให้ติดกับตัวกระดาน เนื่องจากว่าระบบ Touch Sensitive ต้องใช้แรงกดระดับนึงเพื่อให้ผิวกระดานที่สัมผัส ผ่านช่องอากาศ (Air gap) ไปโดนผิวกระดาน (Resistive film) ถึงจะส่งสัญญาณทำให้การใช้งานสะดวกทั้งการใช้นิ้วมือสัมผัส หรือจับลักษณะแบบปากกาสัมผัสก็ได้


ตัวอย่างวิดีโอการใช้งาน Touch Sensitive Interactive Board


วิดีโอเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคต


3. ท่านจะประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน หรือ ในชีวิตประจำวัน หรือ ในหน่วยงาน องค์กรได้อย่างไร

          การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนโดยการใช้กระดานอัจฉริยะแทนกระดาษดำหรือกระดานไวท์บอร์ดในปัจจุบัน ซึ่งช่วยลดมลพิษทางอากาศ เช่น ผงชอล์ก, กลิ่นปากกาเคมี เป็นต้น และยังสามารถใช้เป็นสื่ออิเล็กทรอนิค, นำเสนองานของคุณครูหรือนักเรียน, เปิดวิดีโอและงานต่างๆ ได้อีกมากมาย

4. ระบุข้อเสนอแนะ ติ ชม ทุกๆ ด้าน จากการอบรมของ ดร.ชัชญาภา วัฒนธรรม

     1. ได้ความรู้ความเข้าใจการสร้าง Web Blogger, Web Quest
     2. ได้ความรู้การใช้งาน google+
     2. ได้เพื่อนใหม่ใน facebook
     3. ได้ความรู้ในด้านการศึกษาค้นคว้าการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยตนเอง ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาตนเองได้ในอนาคต

5. เอกสารอ้างอิง

     (1) จักรพันธ์  ชาญสมร, 2557 : https://sites.google.com/site/bankvespaland/home/prawat
     (2) วุฒิชัย  เตมีรักษ์, 2557 : http://www.habitech24.com/what-we-sales/interactive-projector/